- + - Assumption College Webboard - + -
ถ้าเด็กอัสสัมยังไม่รักอัสสัม แล้วเราจะร้องเพลงสดุดีอัสสัมชัญให้ใครฟัง -- บราเดอร์หลุยส์
ขอเชิญร่วมตอบคำถามครับ
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรี สันติ ทักราล กับ พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์(อัสสัมชนิก) |
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สันติ ทักราล กับ พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ เป็นองคมนตรีใหม่แล้ว ทั้งสองเป็นนักเรียนเก่าอัสสัมชัญ สันติ ทักราล เป็นอดีตประธานศาลฎีกา นิติศาสตรบัณฑิต ธรรมศาสตร์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิตการปกครอง จากสหรัฐฯ จบเนติบัณฑิตไทยรุ่นเดียวกับ ชวน หลีกภัย มีพรรษาทางราชการอย่างเด่นดีงาม ในความซื่อสัตย์สุจริต ที่สำคัญเป็นองคมนตรีโสดต้องยืนเข้าแถวหลังประธานองคมนตรีโสด พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กล่าวสำหรับ พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นอภิชาตบุตรแห่ง พล.ร.ต.แชน ปัจจุสานนท์ ผ่านเตรียมทหารรุ่น 3 ร?.ร.นายเรือรุ่น 10 วปอ.รุ่น 40 ได้การยอมรับนับถือจากเหล่าทัพว่าเป็นคนสมถะ สุจริตธรรม มีภรรยาเป็นพลตรีหญิงแห่งกองทัพบกชื่อ พล.ต.ทรรศนีย์ ปัจจุสานนท์
ที่มา : เวบไซท์สมาคมอัสสัมชัญ |
|
Bloomsbury 127.0.0.* [ วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 12:53 น. ] |
| |
ผู้จัดการออนไลน์ 17 มีนาคม 2548 19:11 น.
พลันที่ ลัดดา แนะนำ สันติ ทักราล องคมนตรีโสดคนใหม่ ว่าเป็นนักเรียนเก่าอัสสัมชัญ จบเนติบัณฑิตไทยรุ่น ชวน หลีกภัย จบปริญญาเอกจากอเมริกา ก็มีผู้อยากรู้จัก สันติ ทักราล มากขึ้น เชิญอ่านข้อมูลภาคสองต่ออีกนิดดังนี้ สันติ ทักราล อายุ 63 เป็นอินเดียซิกข์ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย เมื่อเล็กวิ่งเล่นตีลูกล้ออยู่แถวพาหุรัด สะพานหัน เรียนชั้นประถม ร.ร.ศิริจักรเพชร มีผู้ยืนยันว่า สมัยเรียนธรรมศาสตร์ สันติ ทักราล โพกศีรษะด้วยผ้าตามแบบอย่างอินเดียซิกข์มาโดยตลอด กระทั่งไปสอบคัดเลือกเข้าเป็นอัยการสอบผ่านข้อเขียน แต่ไม่ผ่านสัมภาษณ์ เหตุเพราะโพกศีรษะ หลังสอบได้เป็นผู้พิพากษาจึงเลิกผ้าโพกศีรษะนับแต่นั้น สันติ ทักราล เข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรมตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาตั้งแต่ 28 ตุลาคม 2511 เคยเป็นผู้พิพากษาศาลระยอง เชียงใหม่ ภูเก็ต ธนบุรี อธิบดีผู้พิพากษาภาค 4 กับภาค 2 อธิบดีศาลภาษีอากรกลาง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกาจนถึงประธานศาลฎีกาในท้ายที่สุด ต้องไม่ลืมว่า เพื่อนนายพลร่วมรุ่น 23 ร.ร.นายร้อยตำรวจของ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ มีอาทิ พล.ต.อ.อำนวย เพชรศิริ พล.ต.ท.ธีระจิตต์ อุตมะ พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ กล่าวสำหรับ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ วันย้ายจากปทุมวันไปนั่งทำเนียบ เขานำธูปจีนขนาดใหญ่ 3 ดอกไปกราบเคารพภาพ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็น พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีต รมว.มหาดไทย อดีตอธิบดีกรมตำรวจเจ้าของวลี ใต้ดวงอาทิตย์นี้ไม่มีสิ่งใดที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ ควรทราบด้วยว่า มีนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ จุฬาฯ หรือสิงห์ดำรุ่น 25 รุ่น บวรศักดิ์ อุวรรณโณ พิษณุ นิลกลัด เอนก นาวิกมูล ได้รับแต่งตั้งเป็น รมต.ในรัฐบาลใหม่ถึงสอง หนึ่งคือ ปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รมช.ต่างประเทศ อีกหนึ่งคือ ภูมิธรรม เวชยชัย รมช.คมนาคม กล่าวสำหรับ ภูมิธรรม เวชยชัย เคยเข้าป่าแถบอีสานตอนใต้นาน 5 ปี หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ แล้วกลับมาเรียนต่อปริญญาโท รู้จักใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่พรรคพลังธรรม
|
โดยคุณ ผู้จัดการออนไลน์ 17 มีนาคม 2548 19:11 น. 203.113.1.* [ วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 13:29 น. ] ผู้ตอบคนที่ 1 |
|
|
ผมเปิดโทรทัศน์ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อค่ำวันที่ 15 มีนา. ก็พอดีพบกับข่าวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ 'นายสันติ ทักราล' และ 'พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์' เป็นองคมนตรี ก็อยากนำมาบอกกล่าวไว้ให้ทราบกันตรงนี้ด้วย
ประเด็นสำคัญ คือผมปลาบปลื้ม ยินดีเป็นอย่างมากกับท่านสันติ ทักราล และเข้าใจว่าประชาชนทั่วไป เมื่อได้ยินชื่อนี้อาจไม่คุ้น และจำไม่ได้ว่าท่านคือใคร?
ท่าน "สันติ ทักราล" คือ อดีตประธานศาลฎีกา ครับ
ดูเหมือนว่าท่านจะดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาอยู่ปีเศษก็เกษียณอายุ แต่เท่าที่ผมสัมผัสกระแสในฐานะสื่อ ตลอดในความเป็นผู้พิพากษาของท่าน จนขึ้นถึงตำแหน่งประธานศาลฎีกา
ท่านงามด้วยดุลยธรรม สงบเย็นด้วยใจที่เพียงพอ และแสนจะสมถะดุจสามัญมนุษย์ ธำรงสถาบันตุลาการให้สง่าด้วยศรัทธาบารมีจากรังสีความเที่ยงธรรม
เมื่อผมเห็นข่าวแวบๆ ทางโทรทัศน์เช่นนั้น ก็ปลาบปลื้มดังว่า "ความดีงามไม่ว่าถูกเก็บซ่อนไว้ในซอกหลืบไหน ก็ย่อมส่งกลิ่นหอมขจรขจายได้เสมอ"
ส่วนท่าน พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ นั้น คงไม่จำเป็นต้องอธิบาย-ขยายความถึงคุณงามความดี เพราะตำแหน่ง "แม่ทัพเรือ" สุดท้ายก่อนอำลาชีวิตราชการ นั่นย่อมเป็นสิ่งบ่งบอก
ซ้ำชื่อเสียงของท่าน โดยเฉพาะตระ+++ล "ปัจจุสานนท์" กล่าวขานที่ไหน ส่วนใหญ่ก็คุ้นหูกันดี
เมื่อท่านทั้งสองได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โดยเฉพาะในด้านได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้มาปฏิบัติหน้าที่สนองพระเดชพระคุณเพื่อแผ่นดินโดยรวมในหน้าที่ "องคมนตรี" เช่นนี้
สมควรอย่างยิ่งที่ต้องปลาบปลื้ม ยินดีกับท่าน
และกับเนื้องานที่จะต้องได้กับแผ่นดิน
ครับ..ที่ผมหยิบเรื่องนี้มาบอกกล่าวกับท่าน อีกสาเหตุหนึ่งก็คือ ถ้าสังเกตจะเห็นว่าในระยะที่ผ่านมานี้ องคมนตรีหลายต่อหลายท่านได้ออกมาปฏิบัติหน้าที่ปรากฏต่อสังคมบ่อยครั้ง
โดยเฉพาะท่านประธานองคมนตรี "พลเอกเปรม ติณสูลานนท์"
เข้าใจว่าหลายท่านอยากทราบอะไรๆ ที่เกี่ยวกับ "คณะองคมนตรี" อยู่บ้างเหมือนกัน ผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ถ้าจะนำบางสิ่งบางอย่างมาเสริมความรู้-ความเข้าใจ สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบ
ก่อนอื่น ต้องทราบตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน มาตรา 12 ก่อน ดังนี้ครับ
มาตรา 12 พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกินสิบแปดคนประกอบเป็นคณะองคมนตรี
คณะองคมนตรีมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระราชกรณียกิจทั้งปวงที่พระมหากษัตริย์ทรงปรึกษาและมีหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา 13 การเลือกและแต่งตั้งองคมนตรีหรือการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรีหรือให้ประธานองคมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรีหรือให้องคมนตรีอื่นพ้นจากตำแหน่ง
ครับ..ทีนี้ก็เข้าใจกันแล้วนะครับว่าคณะองคมนตรีนั้นเต็มจำนวนมี 18 ท่าน ถ้ารวมประธานองคมนตรีด้วยก็เป็น 19 ท่าน
แต่ปัจจุบันนี้ องคมนตรีมีอยู่เพียง 16 ท่านเท่านั้น เมื่อทรงมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายสันติ ทักราล และ พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์ ก็เป็นอันว่า ขณะนี้คณะองคมนตรีครบตามจำนวนแล้ว
ผมก็จะเรียงตามลำดับให้ท่านทราบไว้ตรงนี้เลยนะครับว่า คณะองคมนตรีประกอบด้วยท่านใดบ้าง ดังนี้
-พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
-นายเชาวน์ ณ ศีลวันต์
-นายธานินทร์ กรัยวิเชียร
-พลเรือตรี หม่อมหลวงอัศนี ปราโมช
-พลอากาศตรีกำธน สินธวานนท์
-พลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลา
-นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
-พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์
-นายอำพน เสนาณรงค์
-นายจำรัส เขมะจารุ
-หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์
-หม่อมราชวงศ์เทพกมล เทวกุล
-นายศักดา โมกขมรรคกุล
-นายเกษม วัฒนชัย
-นายพลากร สุวรรณรัฐ
-นายสวัสดิ์ วัฒนายากร
-พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
และ 2 ท่านสุดท้ายล่าสุดนี้ คือ
-นายสันติ ทักราล
-พล.ร.อ.ชุมพล ปัจจุสานนท์
ก็อาจอยากทราบกันต่อว่า รูปแบบการทำงานในตำแหน่งหน้าที่องคมนตรีนี้เป็นอย่างไร และท่านทำงานกันอยู่ที่ไหน?
ก็ต้องตอบว่า คณะองคมนตรีนั้นมีสถานที่ทำงานในรูปแบบทำเนียบเรียกว่า
"ทำเนียบองคมนตรี"
และมีห้องประชุม "คณะองคมนตรี" เช่นเดียวกัน
ถ้าท่านผ่านไปทางพระบรมมหาราชวัง ด้านถนนสนามไชย แถวๆ พระราชอุทยานสราญรมย์ ตรงนั้นแหละครับท่านจะเห็น "ทำเนียบองคมนตรี"
องคมนตรีแต่ละท่าน ก่อนจะเข้ารับหน้าที่ก็ต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกับคณะรัฐมนตรีอย่างที่เห็น พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำคณะรัฐมนตรีเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณเมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมานี้
เมื่อพูดถึงการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณของคณะรัฐมนตรี มีหลายท่านที่ชมข่าวทางโทรทัศน์ และเมื่อได้รับฟังพระบรมราโชวาทที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานกับคณะรัฐบาลทักษิณ 2/1 แล้วก็อยากทราบว่า
คณะรัฐมนตรีชุดนี้ "ถวายสัตย์ปฏิญาณว่าอย่างไร?"
เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราโชวาท ความว่า "ขอให้ทุกคนทำงานด้วยความจริงใจและซื่อสัตย์ ถ้าทำตามคำปฏิญาณได้ ก็ไม่เป็นสิ่งที่ยากนัก ถ้าทำได้บ้านเมืองก็จะปลอดภัย บ้านเมืองก็จะเจริญได้ แม้ระยะนี้สถานการณ์ยากในการปฏิบัติ ในด้านเศรษฐกิจ การเมือง มีอุปสรรคไม่น้อย แต่ถ้าทำตามคำปฏิญาณก็ควรจะทำได้ ดังนั้น ขอให้ทุกท่านทบทวนข้อความในคำปฏิญาณทุกวัน ช่วยกันปฏิบัติงานเพื่อความสุขของประชาชน ขอให้ทุกท่านสามารถทำตามคำปฏิญาณ เพื่อประโยชน์ของประเทศ และเป็นประโยชน์ต่อตัวเองด้วย เพราะจะมีความภูมิใจว่าสามารถทำตามคำปฏิญาณได้"
ครับ..หะแรกผมก็อยากทราบคำถวายสัตย์ปฏิญาณทั้งหมดเช่นเดียวกัน เพราะอ่านจากข่าวก็ไม่พบว่ามีฉบับไหนนำคำถวายสัตย์ปฏิญาณมาตีพิมพ์ไว้ ที่ดูจากข่าวโทรทัศน์ก็เห็นแต่นายกฯ ทักษิณกล่าวนำเหมือนมัคนายก แล้วบรรดารัฐมนตรีทั้ง 35 ท่านก็กล่าวตาม
โทรทัศน์ออกข่าวแวบๆ ก็ผ่านไป ก็เลยจับความอะไรไม่ได้!
ผมก็เพิ่งมานึกได้ว่าเคยเห็นแวบๆ อยู่ในรัฐธรรมนูญเหมือนกัน ก็ลองมาเปิดดู ก็จริงด้วย เพราะในมาตรา 205 บัญญัติไว้ดังนี้
มาตรา 205 ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
"ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
ทีนี้ก็ทราบในสิ่งที่ควรทราบกันครบถ้วนพอสมควรแล้วนะครับ โดยเฉพาะพระบรมราโชวาท ถึงแม้มีใจความไม่ยาวนัก แต่ครอบคลุมด้วยลึกซึ้งในความหมายเพื่อประเทศชาติ ประชาชน
ที่ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ขอให้ทุกท่านทบทวนข้อความในคำปฏิญาณทุกวัน..." นั้น ผมคิดว่าไม่เพียงคณะรัฐมนตรีทั้ง 35 ท่าน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีอีกหนึ่งเป็น 36 ท่าน สมควรอย่างที่ต้องลอกข้อความอันเป็นคำถวายสัตย์ปฏิญาณนั้นติดไว้ที่หน้ากระจก หรือที่บนโต๊ะทำงาน
เพื่อ "เตือนตน-เตือนใจ" ให้สมกับที่พร่ำพูดกันเสมอมาว่า "ขอรับใส่เกล้าฯ เพื่อปฏิบัติ"
ไม่เพียงเท่านั้น ผมคิดว่า ส.ส.และ ส.ว.ทั้ง 700 ท่าน ก็น่าที่จะน้อมนำคำถวายสัตย์ปฏิญาณนั้นมาอ่านทบทวน-ท่องจำให้ขึ้นใจทุกๆ วันด้วยเช่นกัน
ความจริงก็ไม่ยาวเกินกว่าจะจำไว้ที่ใจเลยนะครับ แค่ 3 บรรทัดกว่าๆ เท่านั้น ทบทวนคำถวายสัตย์ปฏิญาณ "ย้ำ" ไว้อีกครั้งก็ได้ ดังนี้
"ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทยทุกประการ.
|
โดยคุณ เปลวสีเงิน 161.246.50.* [ วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 13:34 น. ] ผู้ตอบคนที่ 2 |
|
|
ถามว่า ในอดีตกาลที่ผ่านมา เมืองไทยมีชายโสดได้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางนิติบัญญัติ ทางบริหาร ทางตุลาการกี่คน ตอบว่า มีสองคน หนึ่งคือ ชวน หลีกภัย โสดระหว่างเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นนายกรัฐมนตรี อีกหนึ่งคือ สันติ ทักราล ประธานศาลฎีกาปี 2545 เป็น สันติ ทักราล อินเดียซิกข์เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย ผู้มีอายุ 58 ศิษย์เก่าอัสสัมชัญ นิติศาสตรบัณฑิต ธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทย รัฐศาสตรมหาบัณฑิตจากสหรัฐฯ ครองโสดเข้ารับราชการในกระทรวงยุติธรรมตั้งแต่ปี 2511 จวบจนเกษียณอายุปี 2546 |
โดยคุณ ผู้จัดการออนไลน์ 16 มีนาคม 2547 01:40 น. 203.113.1.* [ วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 13:38 น. ] ผู้ตอบคนที่ 3 |
|
|
ชื่อ: พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์
ตำแหน่ง: องคมนตรี
เกิด: 30 มิถุนายน 2487 /กรุงเทพฯ
สถานภาพ สมรส :พลตรีหญิงทรรศนีย์ ปัจจุสานนท์
สำนักราชเลขาธิการ ออกประกาศพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือเป็นองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2548 เป็นต้นไป โดยมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเรือเอกชุมพล เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2487 ที่กรุงเทพมหานคร บิดา-มารดา ชื่อ พลเรือตรี แชน นางไพโรจน์ ปัจจุสานนท์ จบการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 3และโรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 60 ศึกษาเพิ่มเติมที่โรงเรียนชั้นต้น พรรคนาวิน โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือรุ่นที่ 39 วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่26 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 40 หลักสูตรต่างประเทศได้แก่ Ship Board DC. 4013 New Port Rhode Island และหลักสูตร Destroyer Department Head Course ประเทศสหรัฐอเมริกา สมรสกับพลตรีหญิงทรรศนีย์ มีบุตร 2 คน คือ เรือโทวรฐ และ นางสาวปณิตา ปัจจุสานนท์
รับราชการตำแหน่งสำคัญได้แก่ผู้บังคับการเรือหลวงตองปลิว ราชองครักษ์ประจำ กรมราชองครักษ์ ผู้บังคับการเรือหลวงตาปี เสนาธิการ กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ รองผู้บัญชาการสถานีทหารเรือกรุงเทพ ผู้ช่วยหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการกองเรือป้องกันฝั่ง เขต 3 รองปลัดบัญชีทหารเรือ ปลัดบัญชีทหารเรือ รองเสนาธิการทหารเรือ เสนาธิการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือเอกชุมพล ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับครอบครัวหลังเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ เมื่อวันที่ 30 ก.ย.47 และนับเป็นอดีตผู้บัญชาการทหารเรือคนแรกที่พ้นจากตำแหน่งแล้วได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี
|
โดยคุณ นท. ทวีเกียรติ 202.57.149.* [ วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 13:56 น. ] ผู้ตอบคนที่ 4 |
|
|
นายสันติ ทักราล
อายุ 63 ปี
อดีตดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา เป็นชาวแพร่ บิดามารดามีอาชีพขายผ้า เข้ามาเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ จากนั้นหันมาสนใจด้านกฎหมาย เรียนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 2 เหตุผล คือ ชอบเป็นการส่วนตัวและญาติพี่น้องถูกโกง โดยเฉพาะผู้เป็นพ่อจึงรู้สึกว่า "ไม่เป็นธรรม"
หลังสำเร็จ "นิติศาสตร์บัณฑิต" ศึกษาต่อเนติบัณฑิต ก่อนไปเป็นทนายความเนื่องจากมีอายุน้อยเกินกว่าจะสอบไปเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ
เมื่ออายุ 25 ปี สอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา ผ่านการอบรมจากสถาบันกฎหมายอเมริกาและกฎหมายระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกา และทุนฝึกอบรมผู้พิพากษาศาลสหรัฐ
นายสันติดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา ประจำศาลต่างๆ อาทิ ผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง รองประธานศาลฏีกา จนกระทั่งเป็นประธานศาลฎีกา
หลังเกษียณอายุราชการ ยังเข้ารับตำแหน่งผู้พิพากษาภาษีอากรกลาง และได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนจะได้รับโปรดเกล้าฯให้เป็นองคมนตรี |
โดยคุณ H12 168.120.94.* [ วันพุธ ที่ 30 มีนาคม 2548 เวลา 17:16 น. ] ผู้ตอบคนที่ 5 |
|
|
โดยคุณ M.5 61.90.82.* [ วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2548 เวลา 02:21 น. ] ผู้ตอบคนที่ 6 |
|
|
โดยคุณ M.5 61.90.82.* [ วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน 2548 เวลา 02:23 น. ] ผู้ตอบคนที่ 7 |
|
|
คนนี้ไงที่มาเป็นท่านประธานวันปิดจตุรมิตร |
โดยคุณ <M> 58.136.208.* [ วันจันทร์ ที่ 5 ธันวาคม 2548 เวลา 02:01 น. ] ผู้ตอบคนที่ 8 |
|
|
องคมนตรี ชุดนี้ มี อัสสัมชนิก อยู่ เยอะนะครับ
เท่าที่ดู ก็ประมาณ ห้าท่าน
อย่างนี้ จะไม่ให้เราภูมิใจ ในสายเลือด ขาวและแดง ได้อย่างไร
ขอให้นักเรียนอัสสัมชัญ ทุกคนจงกระทำแต่ความดี และ ดำเนินรอยตาม พวกท่านทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ ต่อตนเอง และ สังคมต่อไปครับ |
โดยคุณ Faraway 68.63.90.* [ วันจันทร์ ที่ 5 ธันวาคม 2548 เวลา 11:05 น. ] ผู้ตอบคนที่ 9 |
|
|